กังหันลมลำตะคอง ลมจากขุนเขา และเขื่อนลอยฟ้า
ชมกังหันลมเขายายเที่ยง พร้อมวิวสวย ๆ บนสันเขื่อน ที่อ่างเก็บน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
ชมกังหันลมเขายายเที่ยง พร้อมวิวสวย ๆ บนสันเขื่อน ที่อ่างเก็บน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
ถ้าเป็นปีอื่น ช่วงนี้เราน่าจะกำลังเห็นความคึกคักของ Negroni Week แคมเปญดื่มเพื่อบริจาคเงินช่วยองค์กรการสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ที่แบรนด์เครื่องดื่มส่วนผสมหลักของดริงก์คลาสสิกนี้เป็นตัวตั้งตัวตีเริ่มทำมาหลายปี โดยทั้งบาร์และผู้บริโภคอย่างเราก็มีส่วนร่วมง่าย ๆ กับทุกแก้วของเนโกรนีที่เราสั่ง ร้านจะหักรายได้ส่วนหนึ่งไปบริจาคกับองค์กรที่เลือกไว้ ไม่ว่าเราจะเลือกร้านไปจากเครื่องดื่มหรือจากองค์กรที่จะบริจาคให้ก็เป็นกิจกรรมที่น่ารักมาก ๆ แต่ใครก็รู้ว่าปีนี้ไม่เหมือนปีไหน จากแคมเปญดื่มเพื่อโลก ทางแบรนด์ Campari ก็เลยหันกลับมาช่วยประคองพี่น้องในวงการกันก่อน เพราะการที่ร้านดื่มเปิดไม่ได้หมายถึงเหล่าสมาชิกในร้านที่ขาดรายได้ ผู้ประกอบการที่อาจมีแต่รายจ่าย ไปจนถึงร้านที่ต้องปิดหรือคนที่ต้องตกงาน เราไม่ผิดหวังเลยที่เห็นแบรนด์นี้ลุกขึ้นมาเล่นใหญ่อีกครั้ง โดยจัดแคมเปญหารายได้มาช่วยบาร์เทนเดอร์ที่ต้องว่างงาน ตื่นเต้นที่ใช้ความเป็น global (เราลองเข้า #shakennotbroken ในอินสตาแกรมแล้วก็เห็นพลังอันเหลือล้น) ทำแคมเปญนี้โดยให้แต่ละประเทศไปร่วมมือกับร้านในประเทศตัวเอง จัดงานในแบบตัวเองที่ยังคงอยู่ในตีมหลัก ขอตบมือให้กับทีมการตลาดของแบรนด์สักหน่อย สำหรับในไทย ที่สถานการณ์ดูน่าเป็นห่วงกว่าหลายประเทศ เขาก็ร่วมกับ 1919 ที่เป็นร้านหลักของแบรนด์ กับบาร์เทนเดอร์มือรางวัลที่เป็นที่รู้จักอย่าง ปาล์ม-ศุภวิชญ์ มุททารัตน์ มะขาม-ธรรมาริน คูเปอร์ และ Davide Sambo รับบริจาคในรูปแบบการขายเสื้อ ชุดโคลด์คัตพร้อมเครื่องดื่ม และชุดทำเครื่องดื่มเองที่บ้าน เลือกได้ว่าชอบพอรูปแบบไหน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปรากฎการณ์โควิด-19 ทำให้เรามองโลกเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากการประชุมออนไลน์หลายครั้งในหนึ่งวันแล้ว (เปลี่ยนแบ็กกราวด์ก็หลายรอบ) โควิด-19 ยังทำให้เราได้มีโอกาสลองประสบการณ์ใหม่ๆ เร็วกว่าที่เราคาด หนึ่งในนั้นคือการกิจกรรมกินอาหารเชฟเทเบิลแบบ Virtual โดยร้านระดับมิชลินทั้งไทยและต่างประเทศมาส่งให้กินถึงบ้าน! เราแอบคิดเล็กๆ ว่าประสบการณ์แบบนี้วันใดวันหนึ่งมันจะมาถึง แต่การได้ลองในช่วงที่เรากำลังอยู่ท่ามกลางสถานการณ์จริงที่เราจำเป็นต้องอยู่บ้าน ยิ่งทำให้ประสบการณ์มันเรียลขึ้นไปอีก ประสบการณ์ใหม่นี้เป็นของ Fruitfull โปรเจคอาหารที่เป็นสปินออฟของทีม Wonderfruit ซึ่งตอนแรกตั้งใจจะทำเป็นอีเวนท์อาหารและดนตรีช่วงหน้าร้อนให้เหล่าวันเดอเรอร์สายกินได้มาร่วมสนุกกันโดยไม่ทิ้งปรัชญาดั้งเดิมของ Wonderfruit คือความยั่งยืน แต่เพราะสถานการณ์ Covid-19 เลยทำให้ทางทีมเลยชวนเชฟจาก 5 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย หันมาเสนอประสบการณ์อาหารในรูปแบบใหม่เป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อ Lockdown (เข้ากับสถานการณ์สุด) ชื่อของทีมเชฟของไทยที่มาร่วมงานนี้ถือว่าเป็นเบอร์ใหญ่สายอาหารยั่งยืนทั้งนั้น และเคยร่วมทำ Wonder Feast เชฟเทเบิลที่งาน Wonderfruit อยู่เป็นประจำ เช่นเชฟโบ-ดวงพร ทรงวิศวะ และเชฟดีแลน โจนส์ แห่งร้าน Bo.lan หรือเชฟปริญญ์ ผลสุข จากร้านสำรับสำหรับไทย ส่วนที่ใหม่หน่อยเห็นจะเป็นเชฟการีมา อโรร่า แห่งร้าน Gaa ความเก๋ของอีเวนท์นี้คือมีโค-เชฟจากร้านมิชลินประเทศอื่นที่ยิงสัญญาณข้ามโลกมาเข้าร่วมไลฟ์สตรีมพร้อมเสนอเมนูอาหารสำหรับเสิร์ฟในอีเวนท์นี้ด้วย
[caption id="attachment_10707" align="aligncenter" width="1024"] Flamed Oyster[/caption] ลอดท้องเรือกินอาหารทะเลโมเดิร์น เมนูหอยคือพีคสุดLord Jim’s ที่เรารู้จักก่อนหน้านี้คือห้องอาหารบุฟเฟต์ของแมนดารินโอเรียนเต็ล โรงแรมตำนานริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ผ่านหูผ่านตาเด็กเจริญกรุงอย่างเรามานับครั้งไม่ถ้วน แต่การปิดปรับปรุงไปนานร่วมปี พร้อมมากับลุคใหม่ และ Chef de Cusine คนใหม่อย่าง Nicholas Gannaway คุมเมนูใหม่ทั้งหมดของร้านภายใต้คอนเซปต์ Modern seafood ก็ทำเอาเราใจเต้นอยากรู้จักกับ Lord Jim’s มากขึ้น เพราะเชฟอายุน้อยรายนี้เคยผ่านงานร้านอาหารระดับโลกอย่าง Noma มาแล้ว แถมเทคนิคที่ใช้กับเมนู a la carte ของมื้อค่ำอย่างจานหอยยังทำเราติดใจหนักขึ้นไปอีก ที่ติดอยู่ในหัวเราชัดเลยเห็นจะเป็นเมนูหอยนางรม Flamed Oyster กับเมนู Scallop ที่เราว่าเป็นผสมผสานการปรุงอาหารแบบยุคเก่ากับเทคนิคใหม่ที่ทำให้วัตถุดิบทั้งคู่ออกมาอร่อยสุดๆ แค่จานแรกอย่าง Flamed Oyster เชฟนิคก็เซ็ตซีนทั้งหมดของดินเนอร์ด้วยกรรมวิธีการปรุงหอยนางรมแบบฝรั่งเศสกับลูกเล่นวัตถุดิบของเชฟที่นำผลไม้รสเปรี้ยวอย่างแอปเปิลเขียวและมะเฟืองมาหั่นชิ้นเล็กโรยไว้บนหอยนางรม Gillardeau จากฝรั่งเศสท็อปด้วยหัวผักกาดฝานสดกับน้ำส้มราสพ์เบอร์รี ก่อนที่เชฟจะหยิบทีเด็ดจากเตาถ่านด้านหลัง หมัดเด็ดที่ว่าคือ Flambadou
ไม่กินเนื้อก็ไม่จำเป็นต้องกินแค่สลัดบาร์อีกต่อไป! ปีที่แล้วเราชิมเบอร์เกอร์ Beyond Meat ครั้งแรก ตอนเปิดตัวในไทยใหม่ ๆ (ตามไปอ่านได้ที่ ) หลังจากอเมริกาสร้าง plant-based meat แล้วเป็นกระแสดังไปทั่วโลก ถึงเราจะไม่ได้กินมังสวิรัติเป็นหลัก แต่คิดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนที่น่าสนใจ อย่างน้อยก็ให้รสชาติและเนื้อสัมผัสที่ดีกว่าหมูไก่เจที่เคยกินทั่วไป รวมกับเวลาเพื่อนนัดกันไปซิซซ์เลอร์ แล้วเราก็เลือกกินแต่สลัดบาร์เพราะไม่อยากกินเนื้อ แต่เคยรู้สึกไหม บางทีที่มันอิ่ม แต่แอบโหวงเหวงในความรู้สึก เพราะว่าใจมันสะกดตัวเองว่าไม่ได้กินอาหารจานหลัก พอเห็นว่าซิซซ์เลอร์มีเป็นตัวเลือกนี้เพิ่มขึ้นมา เราก็สนใจ แต่ว่ากันตรง ๆ เมื่อตอนที่มันเข้ามาอยู่ในเมนูครั้งแรกเมื่อปีที่แล้วราคามันค่อนไปทางสูงแบบที่ทำให้คนกินเนื้ออย่างเราตัดใจจากเนื้อยังไม่เคยได้ แต่ข่าวดีตอนนี้ซิซซ์เลอร์เขาออกเมนูมาใหม่แล้ว ราคาดีกว่าเดิม (และเพื่อนที่เคยกินตอนเมนูแรกก็บอกว่าอันนี้รสดีกว่าเดิมด้วย)! มีให้เลือกสองจานด้วยกัน Beyond Caramelized Burger with Spicy Coleslaw (399 บาท)เป็นเบอร์เกอร์วีแกนทั้งชิ้นที่อร่อยเลย นอกจากตัวแพตตี้ที่เป็นบียอนด์มีตแล้ว ยังมีชีสวีแกนที่เพิ่มความกลมกล่อมให้เบอร์เกอร์ชิ้นนี้มีชีวิตจิตใจเป็นเบอร์เกอร์ขึ้นมามาก ๆ เราชอบที่เขาเลือกใส่มะเขือม่วงกับซอสมะเขือเทศสับติดเผ็ดนิด ๆ มาตัดเลี่ยน ตอนเราชิมไม่ชอบอยู่อย่างเดียวคือกลิ่นมาการีนที่เดาว่าทาขนมปังมา ถ้ามีโอกาสจะบอกว่าขอไม่ทา รวม ๆ แล้วให้ความอิ่มเอมแบบเบอร์เกอร์ได้ ยอมให้เรียกตัวเองว่าเป็นเบอร์เกอร์ได้โดยไม่กระดากปากเลย Omni Curry Steak
ค็อกเทลแมงดา แม่เป้ง หนอนไหม และหนอนด้วงสาคู!-ถือว่าเป็นภาคต่อของเมนู Explorer ก็ไม่ผิด เพราะจากในเมนูที่ Liberation พาออกสำรวจรสชาตินั้นมี แมงดา เป็นส่วนหนึ่งอยู่แล้ว ครั้งนี้นอกจากแมงดาจะมากับส่วนผสมใหม่ ก็ยังพาเพื่อนมาอีกสามตัว สามรสชาติ สามแก้วกันไปเลย “แมลงมักถูกพูดถึงในเรื่องการเป็นแหล่งโปรตีน และอาหารแห่งอนาคต มีการศึกษาเรื่องข้อมูลโภชนาการและการเพาะเลี้ยงเยอะมาก แต่ไม่ค่อยมีใครศึกษาเรื่องรสชาติเลย” โจอี้-กฤษฎ์ ประกอบดี บาร์เทนเดอร์ของร้านลิเบอเรชันเราให้เราฟัง แน่นอนว่าเขา กอฟ-กิติบดี ช่อทับทิม และทีมงานหลังบาร์ที่นี่อาสาศึกษาเรื่องราวรสชาติของแมลงด้วยตัวเอง จนเป็นที่มาของเมนูใหม่นี้ เราเริ่มตื่นเต้นตั้งแต่แก้ว Waterbugs (440 บาท) ที่มาในเวอร์ชัน 2 ใช้เบสเป็น Lanna Thai Spirit ผสมกับแมงดากลั่น และ NAMMON แบรนด์โทนิกไทยที่ทำโทนิกรสแมงดาขึ้นมาสำหรับที่นี่โดยเฉพาะ ถ้าคาดหวังกลิ่นฉุนแบบแมงดา เราว่ามีผิดหวัง เพราะพอกลั่นออกมาแล้วเหลือเฉพาะกลิ่นหอมหวาน แก้วนี้เลยสดชื่นดื่มง่ายสวนทางกับชื่อแมงดาไปเลย ส่วน And An Ant (440 บาท) นี่ฟังแค่ชื่อก็สนุกแล้ว
Guss Cookie Bar เป็นหนึ่งในร้านไอศกรีมของ Guss Damn Good ที่พาคุกกี้และท้อปปิ้งอื่น ๆ มาร่วมกับไอศกรีมให้กินได้สนุกขึ้น ถูกใจคนรัก ice-cream sandwich ที่สุด!
'โจ๊กฮ่องกง' คือที่สุดความละมุนที่เราชอบ แต่ครั้นจะบินไปฮ่องกงบ่อย ๆ เพื่อไปกินโจ๊กก็เกินไปหน่อย โชคดีที่ในกรุงเทพฯ เรามีร้านโจ๊กฮ่องกงอยู่หลายร้าน เราเลยอาสาจับมารวมไว้ให้คอโจ๊กไปชิมกัน สำหรับเรา โจ๊กฮ่องกงมีจุดเด่นที่ความข้น เนียน ต่างจากโจ๊กทั่วไปในบ้านเรา รวมกับความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ และรสชาติที่ออกจะละมุน เบา ๆ กว่าโจ๊กไทยที่จะปรุงเค็มลงไปในตัวโจ๊กเยอะกว่า แค่คิดถึงความนุ่มเนียนของข้าวที่เคี่ยวจนฟู บาน ละลายลงไปผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกับน้ำต้มข้าวเราก็ท้องร้องโจ๊ก ๆ แล้ว และนี่คือพิกัดร้านที่เราคิดว่าจัดจ้านในย่านกรุงเทพฯ ให้ทุกคนประทังความอยากโจ๊กสไตล์ฮ่องกงได้โดยไม่ต้องเดินทางไกล ส่วนคอโจ๊กคนไหนมีร้านเด็ดในดวงใจที่เรายังไปไม่ถึง บอกต่อกันมาหน่อยนะ! (แล้วเราจะมาอัพเพิ่มเรื่อย ๆ ถ้าใครมีร้านโจ๊กฮ่องกงอร่อย ๆ อยากแนะนำ ส่งเมสเสจมาบอกเราในเพจได้เลย) Golden Bowl โจ๊กอันดับหนึ่งในใจเราของกรุงเทพฯ ที่ครองใจมาหลายปีแบบไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยตัวโจ๊กที่ทั้งหอมข้าวแบบสุด ๆ ตีมาเนื้อเนียน ๆ ข้น ๆ รสชาติอ่อน ๆ ละมุน ตามสไตล์ฮ่องกง และถ้าใครชอบตับด้วยเราขอให้สั่ง เพราะตับที่นี่หั่นชิ้นหนาและลวกมาแบบกำลังสุกพอดี นุ่ม ๆ
โค้งสุดท้ายสุดสัปดาห์นี้หมดแล้วนะ!-ใครยังไม่ได้ไปงาน Bangkok Design Week 2020 เมื่อสัปดาห์ก่อนไม่เป็นไร สุดสัปดาห์นี้ยังมีเวลาให้แก้มือถึงวันอาทิตย์นี้ ถ้าใครติดตามจะรู้ว่างานมีจัดทั้งเจริญกรุง อารีย์-ประดิพัทธ์ และย่านทองหล่อ-เอกมัย แต่เราว่ายังไงย่านเจริญกรุงก็ยังมาแรง โดยเฉพาะกับงานนิทรรศการ และอินสตอลเลชั่น ถ้าใครยังไม่ได้ทำการบ้านสำหรับย่านเจริญกรุง เรามีจุดเช็คอินสำหรับสายถ่ายรูปมาชี้เป้าที่รับรองว่าดีงามจนไม่อยากให้เทศกาลนี้จบเลย จริงๆ ยังมีสถานที่เช็คอินอีกเยอะที่อยู่ในเจริญกรุงและย่านอื่นๆ ทั่วเมือง ทำเอาเราไปไม่หมดจริงๆ ยังไงลองเข้าไปดูแผนที่รวมได้ที่ลิงก์นี้ แล้วก็เริ่มแพลนได้เลย! One More Thingเป็นหนึ่งนิทรรศการที่เราชอบสุดในงานเลยก็ว่าได้ จากงานออกแบบของสตูดิโอที่ปล่อยลูกบ้าสุดตัวอย่าง 56th Studio ของดีไซเนอร์ ศรัณย์ เย็นปัญญา ก็ได้ฤกษ์ปล่อยแบรนด์ One More Thing Patternbreaker ที่ให้นิยามตัวเองว่าเป็น Pattern Breaker ตัวนิทรรศการนี้เต็มไปด้วยผ้าทอลายกราฟฟิกสุดกวนของศิลปิน โดยเฉพาะงานของ ลักษณ์ ใหม่สาลี วางพาดกันไปมาจนกลายเป็นเหมือนห้องเล็กๆ อยู่ในห้องอีกที แต่ละห้องจะมีบอลกระจกแขวนส่องประกายกระทบลายทำให้ถ่ายรูปสนุกจริงๆ ชั้นสองยังมีกระเป๋าหลากหลายลายวางขายในราคาพิเศษเปิดตัวเฉพาะงาน Bangkok Design Week
Philtration ไม่ได้ลับตามกระแส แต่ว่าอยู่สุดซอย ชั้นใต้ดิน และบรรยากาศดี!- ใครที่ไม่เคยไปซอยเกษมสันต์ 3 หรือเคยได้ยินชื่อร้านอาหารบ้านหมอมี อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบ้านที่เคยเป็นต้นกำหนดยาหมอมีในตำนานจะเปิดให้คนเข้าเยี่ยมชมโดยมีทั้งคาเฟ่ และร้านอาหาร รวมทั้งมินิมิวเซียมด้านหลัง แม้แต่คนที่เคยไปเยี่ยมชมบ้านหลังนี้มาแล้วอย่างเรายังไม่เคยรู้เลยว่าที่นี่มีชั้นใต้ดินอยู่ด้วย แถมตอนนี้ยังมีบาร์เปิดใหม่อยู่ข้างในอีกต่างหาก พอเข้าไปได้ก็พบกับตัวบาร์ที่ทำเราร้องว้าวเบา ๆ กับความสวยแปลกตา ตัวร้านเป็นเหมือนห้องรับรองลับ สไตล์สปีกอีซี มีเก้าอี้หนังสีเขียวเข้มตั้งสง่าอยู่บนพื้นกระเบื้องสไตล์โบราณที่ริ้วรอยเหมือนผ่านกาลเวลามายาวนานพอ ๆ กับตำนานบ้านกว่าร้อยปี ด้านขวาเดินผ่านโค้งประตูโครงเหล็กเผยให้เห็นโซนหน้าบาร์ แต่หากเดินลึกเข้าไปด้านในก็มีโซฟายาวพร้อมพื้นหลังสีเขียวสดชื่นที่สามารถรับรองกลุ่มกว่าสิบคนแบ่งเป็นมุมส่วนตัวได้ ส่วนด้านซ้ายเป็นกำแพงและหน้าต่างที่มีคราบความเก่าเข้ากับเพดานไม้ที่ได้รับการขัดเงาดูแลเป็นอย่างดี ดูก็รู้ว่าดีไซเนอร์ตั้งใจเก็บดีเทลทุกอย่างของห้องนี้ไว้แบบดั้งเดิมจริงๆ นะ-ณชพล เกษมสุวรรณ ทายาทบ้านหมอมีและหนึ่งในหุ้นส่วนร้านเล่าให้ฟังว่า ห้องนี้เดิมเป็นห้องที่หมอมีใช้เป็นที่ปรุงสูตรยาต่างๆ โดยมีคลองแสนแสบด้านหลังเป็นเส้นทางหลักที่ใช้ในการขนส่งออกไปขาย รวมทั้งยาอุทัยหมอมีก็ได้รับการผสมขึ้นที่ห้องใต้ดินนี้ด้วย เลยนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบบาร์ที่มีความเป็นร้านยาโบราณอยู่หน่อย ๆ ส่วนชื่อ Philtration ก็มาจากการคำว่า Philter ที่แปลว่า ยาเสน่ห์ ที่เอามาเล่นกับความเป็นมาของสถานที่ซึ่งเป็นบ้านของนักปรุงยาอย่างหมอมีนั่นเอง ถึงจะเป็นบาร์เปิดใหม่ แต่คนหลังเคาน์เตอร์ก็คือคนคุ้นเคยในวงการบาร์อย่าง Shavinraj Gopinath ที่ใช้ชื่อในวงการว่า The Fairy Godfather ซึ่งมีประสบการณ์ทำคลับดังๆ ในสิงคโปร์อย่าง