HomePosts Tagged "thailand"

thailand Tag

การกินเจเมืองตรังไม่ได้เป็นแค่เทศกาลกินผักให้ครบ 9 วัน 9 คืน แต่เป็นช่วงเดียวของปีที่ชาวเมืองจะมารวมตัวกันครั้งใหญ่เพื่อรักษาวิถีดั้งเดิมตามความเชื่อแบบลัทธิเต๋า จนกลายเป็นประเพณีที่ผูกจิตใจของชาวตรังเข้าด้วยกันในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่สำคัญที่สุด -------- เมื่อปี 2562 เรามีโอกาสได้เดินทางไปร่วมงานเทศกาลกินเจ ที่เมืองตรัง ซึ่งเราขอออกตัวก่อนเลยว่าการกินเจกับเราค่อนข้างห่างเหิน เราไม่ได้ถือสัมผัสกับการศีลกินผัก แต่เราสนุกกับอาหารการกินช่วงเจเหมือนกัน โดยเฉพาะเมนูดั้งเดิมที่ปรุงด้วยวัตถุดิบเรียบง่ายอย่างเต้าหู้ แป้ง และผักชนิดต่าง ๆ มากกว่าโปรตีนหลากชนิดที่มีให้เลือกมากมายในยุคนี้ แล้วพอเจ้าบ้านที่ตรังออกปากชวนให้ตามไปดูวัฒนธรรมการถือศีลกินผักของเมืองตรัง ซึ่งถือว่ามีความดั้งเดิมที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ ทำให้เราตกปากรับคำแทบไม่ต้องคิด วัฒนธรรมการถือศีลกินผักของตรังมากับบรรพบุรุษจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนเมื่อครั้งอพยพมาตั้งรกรากที่เมืองตรัง จนกลายเป็นประเพณีฝังรากลึกของชาวจีนในจังหวัดตรัง เป็นการรวมตัวกันเพื่อแสดงความสามัคคี แสดงความศรัทธาต่อเทพ ไม่ว่าจะเป็นชาวตรังที่อาศัยในจังหวัด และชาวตรังที่จากบ้านไปอยู่ที่อื่นก็จะกลับมาในช่วงนี้มากกว่าเทศกาลปีใหม่ หรือตรุษจีนซะอีก เรียกว่าเป็นการรวมญาติคนตรังพร้อมหน้าที่สุดในรอบปีเลยล่ะ ความตั้งใจของเราในการไปเยือนตรังครั้งนี้คือไปดูประเพณีถือศีลกินผัก และอาหารการกินในช่วงกินเจที่เราได้ไปสัมผัสมาในช่วงสั้น ๆ แค่ 6 วัน แต่ก็ทำให้เราติดใจทั้งตัวผู้คน อาหาร และบรรยากาศจนอยากกลับไปตรังอีก ใครอยากรู้ว่าเทศกาลกินเจที่ตรังเป็นยังไง ตามเรามาเปิดโลกอาหารเจที่ตรังด้วยกันเลย   การผูกปิ่นโต และกองทัพโรงครัว เมื่อมีการรวมตัวของคนจำนวนมากในคราวเดียว เรื่องเตรียมอาหารการกินย่อมเป็นเรื่องใหญ่ตามไปด้วย ยิ่งเป็นช่วงพิธีกรรมเลยมีทั้งอาหารคน และอาหารเทพ ที่สำคัญที่ตรังยังมีประเพณีช่วงเทศกาลกินเจแบบที่เราไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน นั่นคือการ “ผูกปิ่นโตกับโรงพระ” ปกติศาลเจ้าจะมีโรงทานทำอาหารไว้ให้คนที่ทานเจได้แวะเวียนเข้ามาทานและบริจาคเงินสนับสนุนอยู่แล้ว แต่คนที่นี่เลือกบริจาคเงินให้กับโรงพระเพื่อนำปิ่นโตมารับอาหารเจที่ปรุงโดยทีมครัวของโรงพระ เพื่อนำกลับไปทานที่บ้านกับครอบครัว

Read More

นอกจากกรุงเทพฯ หรือเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ ภูเก็ตแล้ว ค่อนข้างยากที่จะหาเชฟทำอาหาร Fine Dining จริงจังในเมืองหัวเมืองอื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลย เพราะช่วงหลังๆ มีเชฟเก่งๆ ที่ตัดสินใจกลับบ้าน หรือเลือกย้ายไปอยู่จังหวัดอื่นเพราะเหมาะกับการทำตามความฝันตัวเอง   หนึ่งในนั้นคือเชฟก้อง-ก้องวุฒิ ชัยวงศ์ขจร อดีตเชฟอาหารญี่ปุ่นที่หันเข็มทิศตัวเองจากบ้านเกิดในกรุงเทพฯ ไปอยู่เชียงใหม่ ก่อนจะพบรักกับสาวเชียงรายและเลือกลงหลักปักฐานที่นี่พร้อมตั้งร้านอาหาร Locus Native Food Lab ขึ้นมาเพื่อนำเสนออาหารเหนือที่เขามองว่ามีคุณค่าและน่านำเสนอในรูปแบบใหม่   เวลาผ่านไป 3 ปี ร้านกลายเป็นหนึ่งในหมุดหมายของนักชิมที่เดินทางไปจังหวัดเหนือสุดของไทยเพื่อให้ได้กินอาหารพื้นถิ่นแต่หน้าตาต่างถิ่น แถมยอดจองยังแน่นกันแบบข้ามเดือน บางคนถึงกับยอมบินไปเสาร์กลับอาทิตย์เพื่อให้ได้กินร้านนี้   ล่าสุดเชฟย้ายร้านไปอยู่โลเคชั่นใหม่ในพื้นที่ของรีสอร์ทไฮเอ็นด์อย่างป่าสักทอง ตัวร้านแม้จะเหมือนถอดร่างเดิมไปตั้งที่ใหม่ทั้งในเรื่องหน้าตาและการตกแต่ง แต่สิ่งที่แตกต่างคือประสบการณ์ด้านบริการซึ่งตั้งใจออกแบบให้มีความพิเศษขึ้นและเน้นลงรายละเอียดด้านบริการขึ้น แต่ยังคงความเรียบง่ายในแบบปรัชญาของโลกุษ ซึ่งก็คือการให้แขกได้มาสัมผัสกับประสบการณ์ของสถานที่ ณ ช่วงเวลานั้น เหมือนเป็น Magical moment ของการมาเยือนเชียงราย ที่ตั้งเปลี่ยน เป้าหมายไม่เปลี่ยน หลังจากที่ผ่านประสบการณ์เฉียดตายมา (เชฟประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์บาดเจ็บอย่างหนักเมื่อปีที่แล้ว) ทำให้มองเห็นสิ่งที่ตัวเองต้องการชัดเจนขึ้น นั่นคือชีวิตที่ไม่ต้องไขว่คว้าอะไรมากจนเกินไป เช่นเดียวกับจิตวิญญาณภายในร้านที่เชฟยังคงแนวคิดเดิมเหมือนตอนก่อตั้งร้าน นั่นคืออยากนำเสนอสิ่งดีๆ ของเชียงรายผ่านอาหาร   “ตอนแรกผมซื้อไว้สองแปลงคือสร้างบ้านและสร้างร้านข้างกัน แต่มันต้องใช้เงินมาก

Read More

ย่านนี้มีโอมากาเสะเสียที และข่าวดีคือเป็นทีม Fillets ที่ไว้ใจได้เสมอ! ถ้าอยู่ในแวดวง omakase เรามั่นใจว่าต้องเคยได้ยินชื่อร้าน Fillets อยู่แล้ว เพราะเปิดขายโอมากาเสะมาหลายปี และมีคนการันตีความอร่อยมากมาย ตอนนี้ข่าวดีเป็นของชาวเจริญกรุง เพราะเชฟแรนดี้-ชัยชัช นพประภา ย้ายเคาน์เตอร์โอมากาเสะมาที่บนชั้นสองของร้านสำรับสำหรับไทยแล้ว [gallery size="large" ids="12162,12173,12178"] สำหรับเรา คุณค่าของการกินโอมากาเสะ ไม่ใช่แค่การได้เอาซูชิปั้นใหม่เข้าปากได้ในเวลาที่ออกจากมือเชฟมาไม่ถึงหนึ่งนาทีเท่านั้น (ถึงแม้นั่นจะเป็นพาร์ทที่ฟินที่สุด) แต่อีกส่วนสำคัญไม่แพ้กันคือประสบการณ์นั่งดูเชฟทำ นั่งฟังเชฟอธิบาย ถามคำถามที่สงสัย อัพเดทและเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ไปพร้อมกับการ appreciate อาหารตรงหน้าได้ดีกว่าเดิม และการที่เรามีเชฟแรนดี้ คุยให้ฟัง และตอบคำถามอยู่ตรงหน้า สำหรับคนไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นอย่างเรา สบายกว่าพยายามคุยกับเชฟญี่ปุ่นหลายคนเป็นไหน ๆ ทั้งยังสนุกด้วยความเป็นคนอารมณ์ดีของเชฟ และการที่เขามีประสบการณ์มากพอจะตอบคำถามเราเรื่องเกี่ยวกับวัตถุดิบ แหล่งที่มา ฤดูกาล ไปจนถึงการปรุงได้ โอมากาเสะที่ Fillets ยังคงความจัดจ้านทางโครงสร้าง การเรียงลำดับรสชาติ สลับซูชิ ซาชิมิตามสไตล์ของตัวเอง แม้จะไม่ถึงกับหลุดความเป็นซูชิสไตล์เอโดะ แถมตอนนี้เชฟเลือกใช้เฉพาะปลาธรรมชาติที่ตกด้วยเบ็ด long

Read More

ถ้าเป็นปีอื่น ช่วงนี้เราน่าจะกำลังเห็นความคึกคักของ Negroni Week แคมเปญดื่มเพื่อบริจาคเงินช่วยองค์กรการสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ที่แบรนด์เครื่องดื่มส่วนผสมหลักของดริงก์คลาสสิกนี้เป็นตัวตั้งตัวตีเริ่มทำมาหลายปี โดยทั้งบาร์และผู้บริโภคอย่างเราก็มีส่วนร่วมง่าย ๆ กับทุกแก้วของเนโกรนีที่เราสั่ง ร้านจะหักรายได้ส่วนหนึ่งไปบริจาคกับองค์กรที่เลือกไว้ ไม่ว่าเราจะเลือกร้านไปจากเครื่องดื่มหรือจากองค์กรที่จะบริจาคให้ก็เป็นกิจกรรมที่น่ารักมาก ๆ  แต่ใครก็รู้ว่าปีนี้ไม่เหมือนปีไหน จากแคมเปญดื่มเพื่อโลก ทางแบรนด์ Campari ก็เลยหันกลับมาช่วยประคองพี่น้องในวงการกันก่อน เพราะการที่ร้านดื่มเปิดไม่ได้หมายถึงเหล่าสมาชิกในร้านที่ขาดรายได้ ผู้ประกอบการที่อาจมีแต่รายจ่าย ไปจนถึงร้านที่ต้องปิดหรือคนที่ต้องตกงาน เราไม่ผิดหวังเลยที่เห็นแบรนด์นี้ลุกขึ้นมาเล่นใหญ่อีกครั้ง โดยจัดแคมเปญหารายได้มาช่วยบาร์เทนเดอร์ที่ต้องว่างงาน ตื่นเต้นที่ใช้ความเป็น global (เราลองเข้า #shakennotbroken ในอินสตาแกรมแล้วก็เห็นพลังอันเหลือล้น) ทำแคมเปญนี้โดยให้แต่ละประเทศไปร่วมมือกับร้านในประเทศตัวเอง จัดงานในแบบตัวเองที่ยังคงอยู่ในตีมหลัก ขอตบมือให้กับทีมการตลาดของแบรนด์สักหน่อย สำหรับในไทย ที่สถานการณ์ดูน่าเป็นห่วงกว่าหลายประเทศ เขาก็ร่วมกับ 1919 ที่เป็นร้านหลักของแบรนด์ กับบาร์เทนเดอร์มือรางวัลที่เป็นที่รู้จักอย่าง ปาล์ม-ศุภวิชญ์ มุททารัตน์ มะขาม-ธรรมาริน คูเปอร์ และ Davide Sambo รับบริจาคในรูปแบบการขายเสื้อ ชุดโคลด์คัตพร้อมเครื่องดื่ม และชุดทำเครื่องดื่มเองที่บ้าน เลือกได้ว่าชอบพอรูปแบบไหน

Read More